วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ฮาร์ดแวร์ภายนอกคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ภายนอกคอมพิวเตอร์ 

ส่วนประกอบที่เห็นได้จากภายนอก



1. ตัวเครื่อง (CASE)
                 ตัวเครื่อง   จะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมที่ค่อน ข้างจะราบเรียบไม่มีอะไรให้เห็นมากนัก  นอกจากบางยี่ห้ออาจมีการออกแบบที่อาจจะใช้เส้นสายลายโค้งนูนเว้าเพื่อให้ดูสวยงามขึ้น   ตัวเครื่องนี้อาจจะวางอยู่ในแนวตั้งหรือแนวนอนก็ได้  ซึ่งตัวเครื่องที่วางแบบแนวนอนจะเรียกว่าเป็น เดสก์ท็อป (Desktop)หรือภาษไทยคือ ตั้งโต๊ะ ส่วนเครื่องที่วางแบบแนวตั้งจะเรียกว่า  ทาวเวอร์ ( Tower ) ซึ่งตัวเครื่องแบบทาวเวอร์นี้สามารถแยกได้เป็น  3  แบบตามขนาดความสูงของกล่องคือ  มินิทาวเวอร์ (Mini-tower), มีเดียมทาวเวอร์ (Medium-tower )  และทาวเวอร์ (Tower)
ทางด้านหลังของเครื่องจะเห็นเป็นช่องเสียบสายต่อต่างๆ เป็นจำนวนมากที่เครื่องพีซีได้เตรียมไว้สำหรับการใช้งานที่หลากหลายได้แก่ คีย์บอร์ด, เมาส์, จอภาพ, ช่องต่อโมเด็ม(หรือที่เรียกว่าพอร์ตอนุกรม –Serial  port),ช่องต่อเครื่องพิมพ์ (หรือที่เรียกว่าพอร์ตขนาน–parallel  port), พอร์ต USB, พอร์ตเกม (สำหรับต่อจอยสติ๊ก) และอาจจะมีช่องเสียบลำโพง, ไมโครโฟน, สายโทรศัพท์, สายเน็ตเวิร์กรวมทั้งช่องเสีบสายไฟเลี้ยงตัวเครื่องที่ต้องนำไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟในบ้าน หรืออื่นๆ อีกมากมายตามแต่ว่าเครื่อง นั้นมีอุปกรณ์อะไรติดตั้งอยู่ภายในบ้าง





2. จอภาพ (Display Monitor)
              จอภาพ  หรือที่เรียกว่ามอนิเตอร์ (Monitor) เป็นส่วนประกอบที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด เนื่องจากส่วนที่ใช้ในการแสดงผลในขณะที่่ผู้ใช้กำลังทำงานกับเครื่อง จอภาพจะมีลักษณะคล้ายกับจอโทรทัศน์(ทีวี) เกือบทุกประการ  ไม่ว่าจะเป็นรูปลักษณะภายนอกหรือการทำงานภายใน  เว้นแต่เพียงว่าไม่มีภาครับสัญญาณทีวี  หากแต่เป็นภาครับสัญญาณคอมพิวเตอร์เท่านั้น
   
   
 
3. คีย์บอร์ด (Keyboard)
              คีย์บอร์ด  เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะผู้ใช้เครื่องจะต้องสัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้อนข้อมูล หรือข้อความเข้าไปในโปรแกรมต่างๆ  คีย์บอร์ดมีลักษณะเป็นแป้นพิมพ์เหมือนกับแป้นพิมพ์ดีด ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดเราอาจจะเรียกว่า  คีย์(Key) ก็ได้  ส่วนที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์ดีดก็คือ  คีย์บอร์ดจะมีแป้นตัวเลขที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องคิดเลขเพิ่มเข้ามาทางด้านขวา เพื่อความสะดวกในการป้อนข้อมูลตัวเลขด้วย  นอกจากนี้ยังมีปุ่มฟังก์ชันคีย์และปุ่มควบคุมต่างๆ ที่ใช้สำหรับการสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเพิ่มเข้ามาอีกด้วย
   
   
   
   
4. เมาส์ (Mouse)
             เมาส์ ก็เป็นอุปกรณ์สั่งงานที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในโลกของคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน เนื่องจาการทำงานในรูปแบบกราฟิกมักจะประกอบด้วยรูปภาพ เมนู และปุ่มควบคุมจำนวนมาก  เมาส์จึงเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้สามารถใช้งานส่วนควบคุมเหล่านั้นได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นการใช้งานก็เพียงเลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งต่างๆ ที่ต้องการซึ่งจะเห็นได้จากตัวชี้ (Mouse Pointer) ที่แสดงอยู่บนจอภาพ เมื่อต้องการสั่งงาน ณ  คำสั่งใดก็ให้กดปุ่มที่อยู่บนเมาส์  ซึ่งเมาส์ทั่วไปจะมีปุ่มอยู่ 2 ปุ่มเรียกว่าปุ่มซ้ายและปุ่มขวา   ถ้ามี  3  ปุ่มก็จะเรียกปุ่มกลางอีกหนึ่งปุ่ม มาตรฐานในการสั่งงานกำหนดว่า  ให้ใช้การกดปุ่มซ้ายหนึ่งครั้ง  เรียกว่า “คลิก”  เพื่อเลือกรายการใดๆ  ถ้าเป็นการกดสองครั้งติดต่อกันอย่างเร็ว เรียกว่า “ดับเบิลคลิก”ก็จะเป็นการสั่งให้กระทำคำสั่งที่เป็นดีฟอลต์ทันที  ปัจจุบันการสั่งงานได้เพิ่มขึ้นมาเป็นการกดปุ่มเมาส์ปุ่มขวาที่เรียนกว่า  “คลิกขวา“  และการกดเมาส์ปุ่มซ้ายสองครั้ง  โดยเว้นระยะห่างกันเพื่อเป็นการสั่งแก้ไขข้อมูล  รวมทั้งการกดเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไวแล้วลากไปตำแหน่ง
ต่างๆก่อนที่จะปล่อยเมาส์ เรียกว่า “ลากแล้วปล่อย” (Drag and drop) อีกด้วย  จะเห็นได้ว่าปุ่มสองปุ่มก็สามารถพลิกแพลงการใช้งานได้มากมายปัจจุบันปุ่มกลางเป็นปุ่มที่มีการใช้งานในบางโปรแกรมเท่านั้น  แต่ได้ปรับปรุงให้เมาส์มีล้อ (Wheel) เพิ่มขึ้นมาตรงกลางเพื่อช่วยในการเลื่อนหรือเปลี่ยนหน้าที่เรียกว่า  สโครล (Scroll)   ได้ง่ายและสะดวกขึ้น  ซึ่งล้อนี้นอกจากใช้หมุนเลื่อนแล้วยังสามารกดเพื่อคลิก  หรือกดค้างแล้วเลื่อนสั่งงานต่างๆได้อีกมากมายตามที่โปรแกรมกำหนด
 

 

5. UPS (Uninterupted  Power  Supply)
             เป็นกล่องสี่เหลี่ยมหนักๆ ที่ใช้ต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับปลั๊กไฟ เพื่อเป็นตัวจ่ายไฟฉุกเฉินในกรณีที่ไฟฟ้าเกิดดับกระทันหัน  ทำให้มีเวลาบันทึกข้อมูลและปิดเครื่องได้ทันโดยไม่เกิดความเสียหาย
 

6. เครื่องพิมพ์ (Printer)
             อาจมีรูปแบบต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเครื่องพิมพ์  ซึ่งมีอยู่ 3จำพวกใหญ่ๆ ด้วยกันได้แก่  Laser, Inkjet และ dot-matrix
 

7. โมเด็ม (Modem)
             เป็นอุปกรณ์ที่สามารถสื่อสารผ่านทางสายโทรศัพท์  มักจะใช้เป็นแฟกซ์ได้ด้วย  บางแบบอาจอยู่ภายในเครื่องเลย  หรือเรียกว่า “โมเด็มแบบภายใน” (Internal)   ส่วนบางแบบที่อยู่นอกเครื่องจะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลียมเล็กๆแบนที่มักมีหลอดไฟบอกสถานะอยู่เป็นจำนวนมาก  เรียกว่า  “โมเด็มแบบภายนอก” (External) 
   

   
8. สแกนเนอร์ (Scanner)
             เครื่องอ่านภาพและเอกสารเพื่อนำเข้ามาใช้ในเครื่องพีซี สแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะ (Flatbed)จะมีลักษณะเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร  คือมีฝาเปิดและแผ่นกระจกสำหรับวางเอกสาร ส่วนแบบมือถือ (Handhelp) จะเป็นลูกกลิ้งสำหรับลากผ่านเอกสาร และนอกจากนี้ยังมีแบบที่ใช้กระดาษสอดเข้าไปได้อีกด้วย
   

   
9. จอยสติ๊ก (Joy  stick)
             อุปกรณ์เล่นเกมชนิดต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นรูปแท่ง รูปวงล้อหรือคันบังคับเหมือนพวงมาลัยรถยนต์ (Steering) ก็มี
   
   

การบำรุงรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

การบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งานผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ดูแลและบำรุงรักษาอย่างเหมาะสม สม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคือ อย่างไรเช่นในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณ ควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร  มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร    ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็น ห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่น   และความชื้น  ซอฟแวร์แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้นอาจเสียหายได้ ถ้าหากว่าแผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วนได้รับความร้อนสูง หรือ ตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำลายซอฟแวร์  ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์

1.ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด 

2.อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า 

3.อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย 

4.ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ 

5.ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ 

6.ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น 

7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์ 

8.ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย

                  1) ความร้อน ที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหาส่วนใหญ่ เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหาคือจะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด 


วิธีแก้ปัญหา 

   •  พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุด  
       ควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
   •  ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
   •  ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ


ที่มา : http://www.thaigoodview.com/node/125767

การหาข้อมูลและราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์

การหาข้อมูลและราคาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
         เราจะกล่าวถึงสิ่งที่ควรทราบขณะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลในการเลือกซื้อที่ถูกต้อง และความผิดพลาดที่มักพบกับผู้ซื้อรายใหม่


1.ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ

          คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีฟังก์ชั่นการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้จากส่วนต่างราคาระหว่างคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ศึกษาความต้องการของคุณเพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อฮาร์ดแวร์ที่ไม่จำเป็นเพิ่มเติม ในขณะเดียวกันคอมพิวเตอร์ที่ลดราคามากเป็นพิเศษอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคุณเช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้มักเป็นรุ่นเก่าหรือใช้ส่วนประกอบราคาถูกหรือที่ล้าสมัย การจ่ายเงินมากกว่าจึงอาจทำให้คุณได้พีซีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก การเปรียบเทียบราคา การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ และพิจารณาความต้องการของตนเองจะทำให้คุณได้พีซีที่ลงตัวทั้งในด้านราคาและประสิทธิภาพในการทำงาน

2.ส่วนประกอบต่อพ่วงและซอฟต์แวร์

          คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปส่วนใหญ่จำหน่ายพร้อมซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เมาส์และแป้นพิมพ์ ตรวจสอบกับร้านค้าก่อนจัดซื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์จำหน่ายพร้อมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงใดบ้าง จัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นและกำหนดงบประมาณให้ชัดเจนตามให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์หรือสายต่อเสริมตามความเหมาะสม คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จำหน่ายพร้อมกับแอพพลิเคชั่นสำนักงานติดตั้งสำเร็จ ซึ่งคุณควรคำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย

3.ส่วนประกอบของเครื่อง

          ส่วนประกอบต่างๆ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ การติดตั้งโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดที่เร็วที่สุดโดยติดตั้ง RAM ไม่เพียงพออาจทำให้โปรแกรมทำงานช้ากว่าที่ควร ตรวจสอบว่าส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถรองรับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เคสบางแบบอาจอัพเกรดได้ยาก ศึกษาให้แน่ใจก่อนว่ากำลังเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการจริงๆ และสามารถอัพเกรดได้ในอนาคตหรือไม่ 

4.รองรับการทำงานในอนาคต

          การรองรับการทำงานในอนาคตในที่นี้หมายถึงการจัดซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียกใช้แอพพลิเคชั่นขั้นสูงในอนาคต โดยปกติคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะมีราคาแพง ในระยะยาวขอแนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพคุ้มราคามากที่สุด ในระยะยาวคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะคุ้มค่ามากกว่าการอัพเกรดทุก 6 เดือนหรือการต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่

ประเภทของคอมพิวเตอร์

            à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์

            ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้ใช้วงจรเบ็ดเสร็จขนาดใหญ่มาก (very large scale integrated circuit) ซึ่งสามารถบรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากกว่าสิบล้านตัว เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกเป็น 7 ประเภทดังต่อไปนี้

          1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่น ๆ เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่ สามารถคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนล้านครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบ เพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อมซึ่งหากใช้คอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ แก้ไขปัญหาประเภทนี้ อาจจะต้องใช้เวลาในการคำนวณหลายปีกว่าจะเสร็จสิ้น ในขณะที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์สามารถแก้ไขปัญหาได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น เนื่องจากการแก้ปัญหาใหญ่ ๆ จะต้องใช้หน่วยความจำสูง ดังนั้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน

            2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคอมพิวเตอร์หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบัน องค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือการให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใช้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเตอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

              3.มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เทียบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งหรือสาขาหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

      4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) หรือ พีซี (personal computer หรือ PC)ไมโครคอมพิวเตอร์ คือ คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ (desktop computer) หรือขนาดเล็กกว่านั้น เช่น ขนาดสมุดบันทึก (notebook computer) และขนาดฝ่ามือ (palmtop computer) ไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีขึ้นในปีพ.ศ. 2518 ถึงแม้ว่าในระยะหลัง เครื่องชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพที่สูง แต่เนื่องจากมีราคาไม่แพงและมีขนาดกระทัดรัด ไมโครคอมพิวเตอร์จึงยังเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัว ไมโครคอมพิวเตอร์ได้ถูกออกแบบสำหรับใช้ที่บ้าน โรงเรียน และสำนักงานสำหรับที่บ้าน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการทำงบประมาณรายรับรายจ่ายของครอบครัวช่วยทำการบ้านของลูกๆ การค้นคว้าข้อมูลและข่าวสาร การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail หรือ E - mail) หรือโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ต (internet phone) ในการติดต่อทั้งในและนอกประเทศ หรือแม้กระทั่งทางบันเทิง เช่น การเล่นเกมบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ สำหรับที่โรงเรียน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยสอนนักเรียนในการค้นคว้าข้อมูลจากทั่วโลกสำหรับที่สำนักงาน เราสามารถใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการช่วยพิมพ์จดหมายและข้อมูลอื่นๆ เก็บและค้นข้อมูล วิเคราะห์และทำนายยอดซื้อขายล่วงหน้า

             5.โน้ตบุ๊ค (notebook or laptop) โน้ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอๆกับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

            6.เน็ตบุ๊ค (netbook or laptop) เน็ตบุ๊ค คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ค ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

            7.แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ (tablet computer) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนที่แป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน๊คบุ๊คแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์ก็ตาม

ฮาร์ดแวร์ภายในคอมพิวเตอร์




พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
          เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
เมนบอร์ด (Main board)
          แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ซีพียู (CPU)
          ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ
             1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
             2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
การ์ดแสดงผล (Display Card)
          การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
แรม (RAM)
          RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
SDRAM

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
DDR-RAM

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 
ฮาร์ดดิส (Hard Disk )
          แผ่นจานแม่เหล็กเก็บข้อมูลชนิดแข็ง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทที่เชื่อมต่อภายในเครื่อง(Internal Hard Disk) และประเภทที่เชื่อมต่อภายนอก (External hard disk) ปัจจุบันได้มีการผลิตฮาร์ดดิสความจุตั้งแต่ 6 GB ขึ้นไป โดยมีมาตรฐานการเชื่อมต่อ IDE  SCSI และ USB ซึ่งมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามมาตรฐานแบบ SCSI จะมีประสิทธิภาพและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล การส่งผ่านข้อมูลได้ดีกว่า จึงเป็นที่นิยมใ ช้ในงานประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านข้อมูลจำนวนมากฮาร์ดดิสที่ผลิตในปัจจุบันได้แก่ Seagate, IBM, Maxtor, Quatum 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮาร์ดดิส (Hard Disk )

ที่มา : http://computer.kapook.com/equpiment.php

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์


1.รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลไปประมวลผล อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน เป็นต้น

2.ประมวลผลข้อมูล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้วจะทำการประมวลผลตามคำสั่ง หรือโปรแกรมที่กำหนด อุปกรณ์ทีทำหน้าที่ประมวลไผลได้แก่ CPU

3.แสดงผลข้อมูล (Output) เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูลคือ จอภาพและเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

4.จัดเก็บข้อมูล  คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี แฟลชไดรว์


100 คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์



คำศัพท์ที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


1. Computer = คอมพิวเตอร์

2. Software = ชุดคำสั่งหรือโปรแกรม

3. Hardware = อุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก

4. Input unit = หน่วยรับเข้า

5. Output unit = หน่วยส่งออก

6. Main Memory unit = หน่วยความจำหลัก 

7. Secondary memory unit = หน่วยความจำรอง

8. Keyboard = แป้นพิมพ์

9. Word = คำหรือคำศัพท์

10. Ram = เก็บข้อมูลและโปรแกรม

11. Online = การติดต่อ

12. Upload = การโหลดข้อมูล 

13. Network = เครือข่าย 

14. Fax modem = โมเด็มที่ส่งแฟกซ์ได้ 

15. Web Site = หน้าต่างของเนต 

16. Antivirus Program = โปรแกรมป้องกันไวรัส

17. Computer System = ระบบคอมพิวเตอร์

18. Information System = ระบบขอมูล

19. Computer Network = ระบบเครือข่าย

20. User = ผู้ใช้

21. Account = บัญชีผู้ใช้

22. USB = หน่วยเก็บข้อมูล

23. .net = แสดงเว็บของบริษัท

24. Keyword = รหัสของบางโปรแกรม

25. Multimedia = สื่อประสม

26. Bus = การเชื่อมต่อเครือข่าย

27. Browser = เป็นชื่อใช้เรียกซอฟต์แวร์

28. Bug = ความผิดพลาดของคอม

29. Database = ฐานข้อมูล

30. CD-ROM = ตัวจัดการกับแผ่นต่างๆ

31. Compact Disc = อุปกรณ์ประเภทแผ่น

32. Mouse = เมาส์

33. Light pen = ปากกาแสง

34. Track ball = ลูกกลมควบคุม

35. Joystick = ก้านควบคุม

36. Scanner = เครื่องกราดตรวจ

37. Touch screen = จอสัมผัส

38. Control Unit = หน่วยควบคุม

39. Rom = หน่วยความจำแบบอ่าน

40. Diskette = แผ่นบันทึก

41. Harddisk = ฮาร์ดดิสก์

42. Magnetic Tape = เทปแม่เหล็ก

43. Monitor = จอภาพ

44. Printer = เครื่องพิมพ์

45. Laser printer = เครื่องพิมพ์เลเซอร์

46. Line printer = เครื่องพิมพ์รายบรรทัด

47. Speaker = ลำโพง

48. Microsoft Word = โปรแกรมเวิร์ด

49. Microsoft Excel = โปรแกรมเอกเซล

50. Microsoft PowerPoint = โปรแกรมเพาเวอร์พอยนต์

51. Desktop = โปรแกรมเดสทอป

52. E-mail = จดหมาย

53. Chat = การสื่อสารผ่านเครือข่าย

54. Web cam = กล้องสำหรับติดต่อ

55. Modem = เครื่องแปลสัญญาณ

56. Wireless Card = การ์ดเครือข่ายไรสาย

57. Icon = สัญลักษณ์

58. Desktop = พื้นหลังของหน้าจอ

59. Task bar = แถบงาน

60. Stand By = สแตนด์บาย

61. Turn Off = ปิดเครื่อง

62. Restart = รีสตาร์ท

63. Data = ขอมูล

64. Source = แหล่งกำเนิดข่าวสาร

65. Sink = จุดหมายปลายทางของสาร 

66. Medium Data = สื่อกลางนำข้อมูล

67. Protocol = โปรโตคอล

68. Copy = คัดลอก

69. Delete = ลบข้อมูล

70. Open = เปิดเอกสาร

71. File = ที่เก็บเอกสาร

72. Minimize = ย่อขนาดเล็กสุด

73. Maximize = ขยายใหญ่สุด

74. Task = งานหนัก

75. Scheme = แผนผัง

76. Symbol = เครื่องหมาย

77. GPS = สัญญาณแผนที่บนโลก

78. Password = รหัสผ่าน

79. E-card = บัตรอวยพร

80. Theme = หัวข้อเรื่อง

81. Wan = ข่ายงานบริเวณกว่าง

82. Wed page = หน้าเว็บ

83. Sticker = ฉลากติด

84. Folder = แฟ้มเก็บงาน

85. Format = รูปแบบ

86. Access Point = ตำแหน่งที่เข้าถึงสัญญาณ

87. Document = เอกสาร

88. Explorer = นักสำรวจ

89. Hyperlink = การเชื่อมโยงหลายมิติ

90. Normal = ปกติ ธรรมดา

91. Internet = ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่

92. Border = ชายแดน ขอบ ริม

93. Card = บัตร แผ่นวงจร

94. Restore = ฟื้นฟู ซ่อมแซม

95. Engine = เครื่อง ประมวลผล

96. Cursor = แสงกระพริบบอกตำแหน่ง

97. LAN = ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่

98. Operator = ผู้ควบคุม

99. Directories = สารบบ

100.Close = ปิดโปรแกรม


เครดิต : http://summaalandsahara.blogspot.com/2010/08/100.html